Injective คืออะไร 6 ข้อดีที่คุณควรรู้เกี่ยวกับแพลตฟอร์มการเงินแบบใหม่

ปฏิเสธไม่ได้ว่าบล็อกเชน Layer 1 ถือเป็น Narrative ที่น่าจับตามองไม่แพ้กับ Narrative อื่นๆ เพราะอย่างที่เราเห็นกันในช่วงปลายปี 2023 จนถึงปัจจุบันบล็อกเชน Layer 1 นั้นกลับมาเป็นกระแสร้อนแรงอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวที่มี Technology ที่โดนเด่นและสามารถสร้าง Niche ของตัวเองได้อย่างชัดเจนนั้นดูจะแข็งแกร่งเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับตัวอื่นๆที่เป็นเพียง EVM ทั่วๆไป 

Injective คืออะไร
ขอบคุณภาพจาก Injective

ซึ่งเรามองว่ากลุ่ม Layer 1 ที่มีจุดแข็งจาก Technology โดดเด่น ซึ่งไม่ได้เกิดมาเป็นแค่ Ethereum Killer เหล่านี้นั้นมีโอกาสที่จะแข่งขันและเติบโตต่อไปได้ในตลาดที่เต็มไปด้วยบล็อกเชนจำนวนมาก (ไม่ว่าจะเป็น Layer 1 หรือ Layer 2) โดยบรรดา Layer 1 ที่เข้าข่ายดังกล่าวก็มีด้วยกันหลายตัว โดยในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงโปรเจกต์หนึ่งที่ค่อนข้างเป็นที่สนใจอย่างมากตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า Injective ซึ่งเป็นโปรเจกต์ Layer 1 ตัวแรกที่จับ Niche ในด้านของ Finance นั่นเอง ส่วนจะมีรายละเอียดและความน่าสนใจอย่างไรบ้าง เราจะไปหาคำตอบกันในบทถัดๆไป

Injective คืออะไร มีข้อดีอย่างไรบ้าง

Injective เป็นบล็อกเชนที่สร้างขึ้นโดยใช้ Cosmos SDK โดยถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานในด้าน DeFi โดยเฉพาะ เช่น การเทรดผ่าน Decentralized Exchange, Derivatives Exchange, Lending Protocol เป็นต้น ซึ่งการที่ Injective ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานเหล่านี้นั้นทำให้ช่วยแก้ปัญหามีหลายอย่างที่มักจะเป็น Pain Point เวลาไปใช้งานบนบล็อกเชนที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เช่น ความปลอดภัยและความเร็วในการทำธุรกรรมด้านการเงินที่ต้องสูงเป็นพิเศษ (Injective รองรับความเร็วสูงสุดถึง 25,000 TPS)  นอกจากนี้ยังสามารถทำธุรกรรมแบบไม่ต้องจ่ายแก๊ส, มี Liquidity หนา, รวมถึงการป้องกัน MEV ในระหว่างการทำธุรกรรม เป็นต้น  

Injective ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2018 ทีมงานประกอบด้วยวิศวกรที่มากความสามารถ, นักเทรด และผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ที่หลากหลายในอุตสาหกรรมชั้นนำ โดยทีมมาจากบริษัทชั้นนำเช่น Goldman Sachs, Amazon, Two Sigma, Tesla และอื่นๆ สมาชิกในทีมยังมีประวัติการศึกษาที่โดดเด่น เช่น จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สแตนฟอร์ด และมหาวิทยาลัย Ivy League ชื่อดังอื่นๆ

นอกจากนี้ Injective ได้รับเงินลงทุนจากกลุ่มนักลงทุนที่มีชื่อเสียง เช่น Binance, Pantera Capital, Jump Crypto และ Mark Cuban และเป็นหนึ่งโปรเจกต์ที่ราคาสามารถทำ All Time High ได้ในปีนี้ 

ทำให้เหรียญ $INJ เป็นหนึ่งในเหรียญที่ถูกพูดถึงที่สุดในช่วงที่ผ่านมา เพราะสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า 2,500% จากราคา $1.2 ในเดือน มกราคม 2023 ขึ้นไปสู่ $30 ในช่วงเดือน ธันวาคม 2023 จนสามารถเบรค ATH ของปี 2021 ที่ $25 และเป็นไม่กี่เหรียญในปีนี้ที่สามารถ Outperform ราคา Bitcoin ได้ 

ซึ่งนอกจากเรื่องราคาแล้ว แน่นอนว่า Injective ก็มีจุดเด่นหลายอย่างที่น่าสนใจ โดยสรุปจุดเด่นของ Injective ที่เป็น Highlight สำคัญทั้งต่อผู้ใช้งานและนักพัฒนานั้นมีเป็นข้อๆดังนี้

1. Plug-and-Play Modules

Injective มี Infrastructure แบบ Plug-and-Play ไว้รองรับให้นักพัฒนาใช้ในการสร้าง DApps ได้แบบง่ายๆ โดยจะเป็นลักษณะ Module ที่ถูกกำหนดค่าล่วงหน้าไว้ แล้วให้นักพัฒนาสามารถที่จะใช้ Modules เหล่านี้ในการสร้าง DApps ได้ตามเหมาะสม โดย Module ที่มีให้นั้นมีตั้งแต่ฟีเจอร์การเงินขั้นพื้นฐานที่เป็นที่นิยมไปถึงระดับ Advanced ช่วยลดเวลาในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับโปรเจกต์

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น เมื่อนักพัฒนาต้องการสร้าง DApps นั้นจะมีความจำเป็นจะต้องมีหลายๆส่วนประกอบกัน ซึ่งแต่ละส่วนนั้นก็จะต้องใช้เวลาและความเชี่ยวชาญในแต่ละส่วนในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบพื้นฐาน อย่างเช่น Smart Contract Template, Oracle, User Interface, Bridge หรือจะเป็นส่วนประกอบเฉพาะทางขั้นสูงอย่าง Decentralized Exchange Framework ที่ประกอบไปด้วย Module เช่น Order Books, Liquidity Pools สำหรับการสร้างบริการพวก Spot DEX, Perp DEX, Options เป็นต้น ซึ่งทาง Injective มีรองรับไว้ให้ทั้งหมด โดยสำหรับตัว On-chain Derivatives Orderbook Module ถือว่าได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกบน Injective

2. RWA Modules

ขอบคุณภาพจาก Injective

ในเดือนมกราคม 2024 ที่ผ่านมา ทาง Injective ได้ทำการอัปเกรด Mainnet ครั้งใหญ่ชื่อว่า “Volan Upgrade” โดยเป็นการทำให้ Injective เป็นบล็อกเชนตัวแรกของโลกที่มี Real-world Asset (RWA) Module เพื่อรองรับการพัฒนา Application เกี่ยวกับด้าน RWA และการใช้งานระดับสถาบันโดยเฉพาะ  ซึ่ง Module นี้ช่วยให้สถาบันการเงินสามารถสร้างและ Laucnh ผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตในรูปแบบต่างๆได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น Treasury Bills, ผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อ, ETF, Index, Tokenization เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างโทเค็นที่มีคุณสมบัติที่เรากำหนดเองได้ด้วย 

ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนคือ เป็นการช่วยปลดล็อคให้สถาบันเข้ามาสู่ On-chain ได้ง่ายขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเพราะการจะหา Infrastructure รองรับยังไม่ค่อยมี โดยสำหรับ Injective นั้นในปัจจุบันก็มีสถาบันการเงินที่สนับสนุน Injective อยู่ เช่น Breven Howard ที่เป็นบริษัทจัดการกองทุน Hedge Fund สัญชาติยุโรปที่อาจจะเข้ามา Onboard บน Injectve ได้ในอนาคต

ขอบคุณภาพจาก Injective

โดยล่าสุดทาง Injective เพิ่งประกาศ Integrate กับ Ondo Finance โดย Ondo เป็นผู้นำตลาดในการเชื่อมต่อสินทรัพย์ทางการเงินแบบดั้งเดิมกับเครือข่ายบล็อกเชน โดยในปัจจุบันมียอด Tokenized US Treasuries มูลค่ากว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้ ทำให้ผู้ใช้งาน Injective สามารถเข้าถึง US Treasuries ในรูปแบบของโทเค็นชื่อ USD Yield token (“USDY”) จาก Ondo Finance ได้

3. MEV Resistant ด้วยระบบ Frequent Batch Auction

Infrastructure ของ Injective ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมบนบล็อกเชนปลอดภัยจาก MEV ด้วยระบบการประมวลผลที่ใช้โมเดลแบบ On-chain Frequent Batch Auction (FBA) ที่ถือเป็นโมเดลที่ถูกยอมรับอย่างแพร่หลายจากบรรดา Economic Journal ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า FBA เป็นทางเลือกที่ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่า Continuous Double Auction (CDA) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกำจัดการ Front-running ในระหว่างการทำธุรกรรม ซึ่งส่งผลประโยชน์ต่อผู้ใช้งานเพราะทำให้การเทรดได้ราคาที่ยุติธรรมใกล้กับราคา Market Price 

อีกตัวอย่างที่ทำให้ Injective สามารถให้บริการในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับสถาบันการเงินขนาดใหญ่โดยไม่มีปัญหา ก็คือการที่ Injective ใช้การสุ่มลำดับการทำธุรกรรมแทนการจัดลำดับโดยใช้ค่าธรรมเนียมที่จ่าย เหมือนในกรณีของบล็อกเชนใหญ่อื่นๆที่มักใช้กัน

ขอบคุณภาพจาก Injective

นอกจากนี้ทาง Injective ยังร่วมมือกับ Skip Protocol เพื่อยกระดับความสามารถของ MEV Resistant ให้ดีขึ้นอีกด้วยการนำ MEV กลับมาสู่ผู้ใช้ที่ใช้งานผ่านโอกาสในการทำ Arbitrage และ Liquidation โดยผลประโยชน์เหล่านี้จะถูกนำกลับไปแจกจ่ายให้กับผู้ Stake เหรียญ INJ ซึ่งเป็นการสร้าง Value ให้กับเหรียญ INJ ได้อีกทางหนึ่ง

4. Multi VM Environment

ขอบคุณภาพจาก Injective

Injective เป็นเครือข่ายบล็อกเชนเดียวที่สามารถรองรับ Virtual Machine หลายรูปแบบ รวมถึง WASM, EVM (Ethereum Virtual Machine) และ SVM (Solana Virtual Machine) ข้อดีคือทำให้นักพัฒนาจากฝั่ง Ethereum และ Solana สามารถมาพัฒนา DApps บน Injective ได้ด้วย 

ในช่วงเดือนมีนาคม 2024 ที่ผ่านมาทาง Injective ได้ประกาศเปิดตัว inEVM Mainnet ที่เป็น Ethereum-based Rollup จากการร่วมมือกับโปรเจกต์ขนาดใหญ่อย่าง Caldera, Hyperlane, Celestia, Pyth และ LayerZero ซึ่ง inEVM นั้นจัดเป็น Ethereum Virtual Machine Rollup ตัวแรกที่ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้าง Ominichain DApps ที่ใช้งานเชื่อมต่อ (Interoperability) กันได้แบบเต็มรูปแบบจากหลาย Ecosystem ทั้ง Injective, Cosmos, Ethereum และ Solana Ecosystem 

ขอบคุณภาพจาก Bitcoin Addict
ขอบคุณภาพจาก Injective

ซึ่ง inEVM จะใช้ LayerZero และ Hyperlane ช่วยการการเชื่อมต่อระหว่างเชนทั้งภายใน Cosmos/Injective และ EVM/SVM ส่วนในด้าน Data Availability Layer และ Oracle จะใช้บริการของ Celestia และ Pyth ตามลำดับ นอกจากนี้ทาง Injective ยังได้ร่วมมือกับโปรเจกต์ AltLayer ในการทำ Restaked Security ซึ่งหมายถึงว่า DApps ที่สร้างบน inEVM จะสามารถใช้ Security จากฝั่ง Ethereum ได้

แม้ว่าเพิ่งเริ่มต้นใช้งานได้ไม่นาน inEVM ก็ได้รับความสนใจจากโปรเจกต์หลายๆ โปรเจกต์โดยเฉพาะ โปรเจกต์อย่าง TimeSwap และ Thetanauts โดยโปรเจกต์เหล่านี้ได้ระดมทุนรวมกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก VCs อย่าง Polychain Capital, Delphi Digital และ Bain Capital Crypto ซึ่งจำนวน dApps ที่สร้างขึ้นบน inEVM ที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Infrastructure นี้ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม Multi-VM หลายรูปแบบได้เร็วขึ้น

5. Near Zero Fees

ขอบคุณภาพจาก Injective

ทาง Injective เพิ่งเปิดตัวมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Gas Compression” ในช่วงเดือนมกราคม 2024 ที่ผ่านมา ทำให้เชน Injective เป็นหนึ่งในเชนที่มีค่าแก๊สในการทำธุรกรรมต่ำมากที่สุด โดยไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมประเภทใดก็ตาม เช่น การ Stake, ซื้อขายบน DApp, การกู้ยืม, การ Mint NFT, การโหวต Governance และอื่นๆ จะเสียค่าแก๊สแทบเป็นศูนย์ (ประมาณ 0.00001 INJ หรือ $0.0003 USD เท่านั้น) ทำให้เป็นเปิดโอกาสในการสร้างนวัตกรรม Web3 ทั้งจากนักพัฒนาและสถาบัน รวมถึงเปิดประตูให้กับผู้ใช้ทั่วไปมาเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและอาจผลักดันให้เกิด Mass Adoption ได้ด้วย

ตัวอย่างเช่น การ Mint NFT จำนวน 1,000 ชิ้นบน Injective จะจ่ายค่าแก๊สเพียง $0.30 เท่านั้นซึ่งถือว่าต่ำกว่า Ethereum มากถึง 100 เท่า หรือมากกว่า 500% เมื่อเทียบกับการทำธุรกรรมแบบเดียวกันบนเชน Polygon และต่ำกว่า Solana ถึง 50%

6. Interoperability

ขอบคุณภาพจาก Injective

Interoperability หมายถึงความสามารถในการทำงานร่วมกันของบล็อกเชนผ่านการใช้ Multi-chain Bridges ซึ่ง Injective ถือเป็นตัวอย่างของบล็อกเชนที่มีความสามารถในการร่วมทำงานกับเครือข่ายอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังเป็นหนึ่งในบล็อกเชนที่สามารถเชื่อมต่อกับบล็อกเชนจำนวนมากที่สุดในวงการคริปโตฯ

ด้วยความที่ Injective ถูกสร้างด้วย Cosmos SDK ทำให้สามารถใช้ IBC (Inter-blockchain Communication) ได้ตั้งแต่ต้น และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับหลายๆบล็อกเชน Layer 1 อย่างเช่น Ethereum, Solana, Polygon, Avalanche, Polkadot นอกจากนี้ยังรองรับการเชื่อมต่อไปยังเชนอื่นๆได้อีกหลากหลายผ่าน Bridge และ Messaging Protocol อื่นๆด้วย อย่าง Wormhole, Celer, Axelar 

ข้อดีของการที่ Injective รองรับการทำงานระหว่างเชนก็คือช่วยแก้ปัญหาในด้านสภาพคล่องกระจัดกระจาย (Liquidity Fragmentation) เพราะสามารถแชร์ Liquidity จากเชนอื่นๆได้ด้วย นอกจากนี้ ด้วยความที่ Injective รองรับ General Messaging Protocol ด้วย ทำให้สามารถทำได้มากกว่าการส่ง Asset ข้ามเชน แต่ว่าสามารถรองรับ Cross-chain Application อื่นๆ อย่างเช่น Cross-chain Swap, Multi-chain Lending/Trading ได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://cryptomind.group/research/injective-deepdive/